แพทย์เฉพาะทาง?แพทย์ทั่วไป?แพทย์ฝึกหัด?แพทย์ใช้ทุน? ใครคือใคร?

หมอเป็นหมอด้านไหนครับ? ผมเป็นแพทย์ทั่วไปครับ
หมอเป็นหมอประจำที่นี่เหรอ? เปล่าครับ ผมเป็นแพทย์ใช้ทุนครับ
หมอ...ป้าปวดมากเลย ขอยาหน่อยนะ ..... รอซักครู่นะครับ ผมขอรายงานพี่หมอเฉพาะทางก่อน


แล้วใครคือใครล่ะเนี่ยยย???

ผมเชื่อครับว่าใครต่อใครหลายคนคงเจออะไรแบบนี้มาเยอะจนงงไปหมดแล้วว่าหมอคนไหนคือใครกันแน่ ตัวผมเองตอนสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ก็งงครับ วันนี้เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังว่าระดับขั้นในวิชาชีพแพทย์นั้นมันมีอะไรบ้างนะครับ โดยเรียงลำดับไว้ให้ครับ

1. นักศึกษาแพทย์
ทุกอาชีพและทุกวิชาชีพเริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนก่อนเสมอ วิชาชีพแพทย์ก็เหมือนกันครับ จุดเริ่มต้นคือการเป็นนักศึกษาแพทย์(นศพ.) ก่อน 6 ปี
ช่วง 3 ปีแรกจะเรียนภาคทฤษฎี มีภาคปฏิบัติน้อยมาก(แต่ขึ้นอยู่กับสถาบันแต่ละแห่งครับ)
ส่วนปีที่ 4 - 6 นั้นจะเริ่มปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลของรัฐที่ตนสังกัดอยู่เช่น รพ.รามาธิบดี, รพ.ศิริราช, รพ.จุฬาลงกรณ์ หรือรพ.ราชวิถี(นักศึกษาแพทย์ของม.รังสิต) เป็นต้น
จุดสังเกตของน้องๆนักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้คือ ดูหน้าก็รู้อ่ะครับว่าเป็นนักศึกษาแต่พวกเขาจะใส่เสื้อกาวน์ยาวแขนสั้นคลุมชุดนักศึกษาที่อยู่ข้างในอีกทีนึง (ร้อนมากครับ) กระเป๋าเสื้อจะมีปักคำว่า "นศพ." นำหน้าชื่อครับ สีของชื่อใช้สีเขียว เนื่องจากเป็นสีสัญลักษณ์ของแพทย์นั่นเองครับ


เครื่องแบบนศพ.ปีต่างๆ แต่อาจจะแตกต่างกันตามสถาบัน


ส่วนนักศึกษาแพทย์ปี 6 ก็จะมีคำเรียกเฉพาะครับคือ เอ๊กซ์เทริ์น (Extern) พวกน้องๆเขาจะใส่เสื้อกาวน์สั้นระดับสะโพกเท่านั้น และจะไม่มีคำว่า นศพ.นำหน้าชื่อแล้ว แต่ก็ไม่มี "นพ. พญ." นำหน้านะครับ เพราะน้องๆเขายังถือว่าเป็นนักศึกษาอยู่


เสื้อกาวน์สั้นที่จะได้เริ่มใส่ตั้งแต่เป็น Extern 


2. แพทย์ใช้ทุน (อินเทริ์น , Intern)
หลังจากที่เรียนกับจบก็ถึงเวลาออกไปทำงานกันแล้ว ใครที่จบจากโรงเรียนแพทย์ของรัฐถือว่าติดหนี้ค่าเทอมที่รัฐบาลช่วยเหลือ ต้องออกไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่ต่างจังหวัด คือเขาเป็นหมอเต็มตัวแล้วล่ะครับ สอบอะไรผ่านหมดแล้ว ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ใบประกอบโรคศิลป์) กันเรียบร้อยแล้ว เป็นช่วงที่เขาออกไปฝึกหาประสบการณ์ทำงานแบบบินเดี่ยวมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีอาจารย์แพทย์และแพทย์ใช้ทุนรุ่นพี่ คอยดูแลคอยให้คำปรึกษา
โดยทั่วไปการ intern นี้กินเวลา 3 ปี แต่บางคนอาจจะออกมาก่อน น้องๆพวกนี้สังเกตคือใส่เสื้อกาวน์สั้นครับ ที่เสื้อมีปักชื่อ นพ. และพญ. กันเรียบร้อย เพราะงั้นหน้าตาอาจจะดูเด็ก แต่เขาคือแพทย์เต็มตัวแล้วครับ มีความรู้ความสามารถและเจตคติความเป็นแพทย์ครบครัน แต่เป็นช่วงฝึกความชำนาญในการตรวจให้มากขึ้น
ระบบการใช้ทุนอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นใบเบิกทางสู่การเรียนต่อเฉพาะทางครับ โดยส่วนมากการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาส่วนใหญ่แพทย์ผู้สมัครเรียนจะต้องมีประสบการณ์การใช้ทุนมาก่อนอย่างน้อย 1 ปี บางสาขาต้องใช้ทุนครบ 3 ปี แต่บางสาขาซึ่งเป็นสาขาขาดแคลนไม่จำเป็นต้องใช้ทุนมาก่อนก็ได้ครับ
ส่วนแพทย์ที่จบจากสถาบันเอกชน สมัยก่อนมีม.รังสิตแห่งเดียว ขณะกำลังจะเปิดอีก 2 แห่งครับ พวกนี้ไม่ได้ติดหนี้ของรัฐบาลเพราะโดนค่าหน่วยกิตไปเต็มๆ เพราะฉะนั้นจบออกมาก็ไม่มีภาระหนี้ที่จะต้องไปใช้ทุนคืน แต่ก็สามารถไปสมัครร่วมกับแพทย์ใช้ทุนได้ตามปกติ เพียงแต่จะเรียกว่าโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งเป็นแค่คำที่ต่างกัน แต่ทำหน้าที่เหมือนกับแพทย์ใช้ทุนทุกประการครับ เพราะงั้น คำว่าแพทย์ใช้ทุนกับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ก็คือคนคนเดียวกัน
ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ใช้ทุนจะอยู่ที่โรงพยาบาล่างจังหวัด แต่ก็มีโรงพยาบาลในกรุงเทพบางแห่งที่รับสมัครแพทย์ใช้ทุนก็มีครับ


3. แพทย์ประจำบ้าน (เรสซิเด้นท์ , Resident)
คือแพทย์ที่เรียนจบแล้ว และตัดสินใจกลับมาเรียนต่อในสาขาที่ตนสนใจ หรือเรียกง่ายๆว่ามาเรียนต่อเฉพาะทางนั่นเองครับ แพทย์กลุ่มนี้คือแพทย์เต็มตัวเช่นกัน เพียงแต่เขากลับมาสู่ระบบการเรียนอีกครั้งหนึ่งโดยที่ยังมีความเป็นแพทย์อยู่ครบครัน แต่จะเห็นบ่อยๆว่าถูกอาจารย์ตำหนิเรื่องความรู้บ้างอะไรบ้างบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าเขาไม่เก่งหรือไม่อะไรนะครับ เพียงแต่มันคือกระบวนการหล่อหลอมเพื่อไปสู่ความเป็นเฉพาะทาง การเรียนการสอนจะเข้มงวดกว่าเป็นนักศึกษาแพทย์เยอะ จะพบเห็นแพทย์กลุ่มนี้ในโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ครับ ใส่เสื้อกาวน์สั้นมีตราประจำโรงพยาบาล มีคำว่า "นพ. พญ." นำหน้า โดยทั่วไปการอบรมแพทย์ประจำบ้านใช้เวลา 3 - 4 ปีแล้วแต่สาขาครับ
ที่มาที่ไปของคำว่าแพทย์ประจำบ้าน เพราะว่าแพทย์ที่มาเรียนส่วนใหญ่จะต้องใช้ชีวิต 90% อยู่ในบ้าน(โรงพยาบาล)ของตัวเอง เลยถูกเรียกว่า resident หรือแพทย์ประจำบ้านครับ (อ้างอิงจาก wikipedia)

4. แพทย์ประจำบ้านต่อยอด (เฟลโล่ชิป , Fellowship)
คือแพทย์ประจำบ้านที่จบการเรียนต่อเฉพาะทางแล้วสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ในสาขานั้นๆยังคงมีเจาะลึกลงไปอีกเป็นระบบๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือสาขาอายุรศาสตร์ครับ มีสาขาต่อยอดขึ้นไปอีกเช่นอายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหารเป็นต้น การเรียนต่อยอดนี้เป็นสิ่งที่มีเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ทั้งในกรุงเทพและส่วนภูมิภาคเท่านั้น สุดท้ายแล้วเมื่อจบการเป็น fellowship ก็เรียกว่าเฉพาะทางของเฉพาะทางแล้วล่ะครับ ที่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆเช่น หมอโรคหัวใจ หมอโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น อันนี้คือผ่านการเป็น fellowship แล้วครับ โดยทั่วไปการเป็น fellowship ใช้เวลา 2 - 3 ปีแล้วแต่สาขาครับ

5. อาจารย์แพทย์
คือจุดสูงสุดในวิชาชีพแพทย์แล้วครับ แต่ต้องเป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาลเท่านั้นนะครับที่เรียกว่า "อาจารย์จริงๆ"

สรุปก็คือ นักศึกษาแพทย์ --> แพทย์ใช้ทุน --> แพทย์ประจำบ้าน --> แพทย์ประจำบ้านต่อยอด --> อาจารย์แพทย์

กรณีรพ.เอกชน
คุณหมอทุกคนไม่ว่าจะจบใหม่ ใช้ทุนมากี่ปี ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง หรือเป็นเฉพาะทางจริงๆ ก็จะถูกเรียกว่า "อาจารย์" ทั้งหมดครับ
ในปัจจุบันนี้มีคุณหมอหลายคนที่เพียงพอกับชีวิตแล้ว และไม่เรียนต่อเฉพาะทาง ก็มาทำงานเป็น"แพทย์ทั่วไป" ตามรพ.ต่างครับ แพทย์ทั่วไปนี้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า General Practitioner ย่อๆว่า GP แต่ก็ยังมีคนทั่วไปอีกมากที่ไม่รู้จักคำคำนี้ครับ หลายคนจะเข้าใจว่า GP นี้คือ "แพทย์อายุรกรรมทั่วไป" ซึ่งไม่ใช่นะครับ แพทย์อายุรกรรมทั่วไปต้องจบเฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์มาแล้ว แต่ยังไม่ได้เป็น fellowship ต่อยอดขึ้นไป
คุณหมอ GP เหล่านี้ จะเป็นที่คุ้นเคยกันดีตามรพ.เอกชนที่รับบัตรทอง และ ประกันสังคมครับ บทบาทของพวกเขาคือตรวจรักษาทุกอย่างที่ไม่ซับซ้อนได้ทั้งหมด ส่วนอะไรที่เกินขีดความสามารถเช่นคนไข้ต้องผ่าตัด 

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆคนอาจจะสังเกตุว่าผมไม่ได้เอ่ยถึง  "แพทย์ฝึกหัด" เพราะในความเป็นจริงแล้ว คำว่าแพทย์ฝึกหัด มันไม่ได้บ่งบอกอะไรเลยครับว่าคุณหมอคนนั้นอยู่ในขั้นไหน ถ้าจะมองๆก็น่าจะอยู่ที่แพทย์ใช้ทุนหรือไม่ก็แพทย์ประจำบ้าน ซึ่งมันก็ไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะงั้นเพื่อความง่ายผมเลยเสนอว่าถ้าจะหาคำที่ใช้เรียกคุณหมอเหล่านั้น ก็เรียกไปเลยว่าแพทย์ใช้ทุน(intern) หรือแพทย์ประจำบ้าน (resident) ไปเลย มันจะง่ายกว่าครับ

15 comments:

  1. Staff แปลว่าอะไรคับ

    ReplyDelete
  2. Staff แปลว่าอะไรคับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. staff คือ อาจารย์หมอค่ะ

      Delete
  3. เขียนได้ชัดเจนมาก ขอบคุณครับ

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณมากค่ะ
    กระจ่างเลยค่ะ :-)

    ReplyDelete
  5. ขอบคุณค่ะ งงกับคำว่า เฟลโล่ มานาน

    ReplyDelete
  6. ดูซีรี่​ เกาหลี​ เรื่องdocter งง​ กับภาษาหมอมาก​ แต่ได้อ่านตรงนี้​ ชัดเจนเลยค่ะ

    ReplyDelete
  7. อ่านเข้าใจง่ายค่ะ เป็นประโยชน์มาก ได้ความรู้เลยค่ะและอีกอย่างดูซีรี่ย์เกาหลีรู้หมดเลยยยยยย ชอบดูเกี่ยวกับหมอค่ะ

    ReplyDelete
  8. เก็จเลยคะ ขอบคุนมากๆนะคะ ดูซี่รีย์แล้วงง ยุนาน

    ReplyDelete
  9. อ่านแบบนี้แล้วเข้าใจมาก ขอบคุณค่ะ
    ปล.โดยรวมแล้วถ้าจะเป็นอาจารย์หมอได้คือเรียนประมาณ13-15ปี โอโห ไปให้สุดเลยครับ😂

    ReplyDelete
  10. ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่เคยสงสัยค่ะ ละเอียดมากเลย

    ReplyDelete
  11. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่

    ReplyDelete
    Replies
    1. This comment has been removed by the author.

      Delete
  12. ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลอีกครั้ง ในฐานะนิสิตครับ

    ReplyDelete